คริษฐ์ ปานเนียม (ตาก)
ตำแหน่งที่สมัคร
รองเลขาธิการสัดส่วนภาคเหนือตอนล่าง
ประสบการณ์การทำงาน (ทั่วไป)
–
ประสบการณ์การทำงานทางการเมือง
ปัจจุบัน เป็น สส เขต จังหวัดตากเขต1
รองประธานกรรมธิการบริหารจัดการน้ำ
กรรมาธิการวิสามัญ พรบ ลำไย
กรรมมธิการวิวามัญเอ็นเตอร์เทรนเม้นคอมเพล็ค
อนุกรรมธิการกีฬา
อนุกรรมธิการแก้ไข้ปัญหาน้ำประปาและบาดาล
อนุกรรมมธิการแก้ไขปัญหาไฟป่า
อนุกรรมาธิการพิจารณางบประมาณแผนบูรณาการ ปี67 และ 68
อนุกรรมาธิการสภาเด็กและเยาวชน
ตัวแทนประเทศไทยร่วมประชุม น้ำโลก world water forums 2567
ตัวแทนประเทศไทยร่วมประชุม SEA-PAC หรือ Southeast Asia Parties against Corruption เป็นกลุ่มความร่วมมือของ หน่วยงานต่อต้านการทุจริตของประเทศสมาชิกอาเซียน
ปี2563 ผู้สมัคร นายก อบจ ตาก คณะก้าวหน้า
ทำไมถึงอยากลงสมัครเป็นรองเลขาธิการพรรคประชาชน
ตำแหน่งเลขาธิการพรรค เป็นตำแหน่งที่ต้องประสานงานทุกฝ่าย ทุกส่วนงานภายในพรรค และต้องควบคุมกำกับดูแลกิจการภายในของพรรค การดูแลการประชุมใหญ่ การประชุมคณะกรรมการบริหารหรือการประชุมอื่นๆ ตามระเบียบข้อบังคับที่กำหนดไว้ เมื่อพรรคเปิดโอกาสให้มีการสรรหา “รองเลขาธิการพรรค” เพื่อทำหน้าที่ประสานความร่วมมือพรรคสาขาประจำส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบัน เหลือเพียงจังหวัด จังหวัดเดียวที่มี ส.ส. 2 เขต ผมเล็งเห็นว่า การประสานงานและขับเคลื่อนสาขาจังหวัด เพื่อทำงานควบคู่ไปกับพรรค ในบริบทที่ควรเป็น เพื่อพัฒนาศักยภาพ “ศูนย์จังหวัด, คัดสรรตัวผู้สมัคร, บ่มเพาะ DNA ในแบบพรรคประชาชน, การจัดวางตัวบุคคลให้เหมาะสมกับสถานการณ์และช่วงเวลาต่างๆ ภายในแต่ละพื้นที่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จำเป็นจะต้องมีใครสักคนเสียสละ และนำเอาความรู้ ประสบการณ์การทำงาน และเจตนารมณ์ของพรรคไปเผยแพร่ เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน และสื่อสาร ถ่ายทอดไปยังประชาชนได้ เป็นอีกส่วนงานหนึ่งที่จะได้ทำหน้าที่ช่วยงานเลขาธิการพรรค และช่วยงานเพื่อนสมาชิกพรรคทุกจังหวัดในเขตความรับผิดชอบที่พรรคมอบหมายให้
ถ้าได้เป็นรองเลขาธิการพรรคประชาชน แล้วอยากจะทำอะไร หรือผลักดันอะไร
1. เดินสายพบคณะกรรมการจังหวัด เพื่อเร่งขบวนการเชิญชวนการสมัครสมาชิกพรรค โดยคณะกรรมการจังหวัดมีส่วนร่วม 2. เปิดโกาสให้ผู้ที่สนใจร่วมงานทางการเมือง ทั้งการเมืองท้องถิ่น และการเมืองระดับชาติ เข้ามามีส่วนร่วมในการพิสูจน์ตนเอง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจการทำงานของพรรคประชาชนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 3. พบปะสมาชิกตลอดชีพ ในแต่ละพื้นที่ เพื่อรับฟังความคิดเห็นในการพัฒนาพรรคการเมืองในรูปแบบที่สอดคล้องต่อความต้องการของสมาชิก และประชาชน 4. สานสัมพันธ์ และเชื่อมความเข้าใจ บริบทการทำงานระหว่างคณะทำงานจังหวัด ทีมว่าที่ผู้สมัครการเมืองท้องถิ่น และการเมืองระดับชาติ โดยกำหนดเป้าหมายผลการเลือกตั้ง อย่างตรงไปตรงมา 5. แบ่งเบาภาระงาน ตามที่เลขาธิการพรรคมอบหมาย
นายปุณณเมธ อ้นอารี (พิษณุโลก)
ตำแหน่งที่สมัคร
รองเลขาธิการสัดส่วนภาคเหนือตอนล่าง
ประสบการณ์การทำงาน (ทั่วไป)
ธุรกิจส่วนตัว (ค้าขาย/เกษตรกร)
ประสบการณ์การทำงานทางการเมือง
– อดีตคณะกรรมการจังหวัดพรรคอนาคตใหม่ – อดีตผู้ชำนาญการประจำตัว สส.เกษมสันต์ มีทิพย์ พรรคอนาคตใหม่ – อดีตผู้ประสานงานพรรคก้าวไกล ประจำจังหวัดพิษณุโลก – อดีตที่ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร – อดีตตัวแทนพรรคประจำอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก – อดีตผู้สมัคร สส. พรรคก้าวไกล ในระบบบัญชีรายชื่อ อันดับ 79 – ผู้ประสานงานพรรคประชาชน ประจำจังหวัดพิษณุโลก – เลขานุการคณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร
ทำไมถึงอยากลงสมัครเป็นรองเลขาธิการพรรคประชาชน
การต่อสู้ทางการเมืองเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่เต็มใบนั้นต้องใช้ระยะเวลา การชนะทางการเมืองอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องชนะทางความคิดด้วย องค์กรหรือพรรคการเมืองจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้องคาพยพขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างมีพลังและความหวัง ซึ่งการต่อสู้ทางการเมืองก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าต้องเผชิญกับบทเรียนที่ท้าทายและความผิดหวังอยู่บ่อยครั้ง การสร้างพรรคการเมืองจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำพาชัยชนะไปสู่ประชาชน แต่ปฏิเสธปัญหาและความขัดแย้งภายในพรรคไม่ได้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการเป็นพรรคการเมือง และหลายพรรคมักเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยระบบอำนาจนิยม และสิ่งนี้คือโจทย์ใหญ่ที่เราทุกคนในพรรคต้องเผชิญ จึงอยากเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบและหาวิธีในการแก้ไขปัญหา เพื่อให้พรรคยังทรงพลังและทรงคุณค่า เพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนวาระทางสังคมต่อไป และเป็นพรรคมวลชนของคนทุกคน
ถ้าได้เป็นรองเลขาธิการพรรคประชาชน แล้วอยากจะทำอะไร หรือผลักดันอะไร
1.แก้ไขความขัดแย้งในภูมิภาค ภายใต้หลักการที่ถูกต้อง 2.สร้างช่องทางในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ระหว่างเครือข่ายกับ สส. 3.สร้างการทำงานร่วมให้เกิดขึ้นในภูมิภาค เพื่อขับเคลื่อนวาระทางสังคม วาระทางความคิดให้มากขึ้น
ศนิวาร บัวบาน (ตาก)
ตำแหน่งที่สมัคร
รองเลขาธิการสัดส่วนภาคเหนือตอนล่าง
ประสบการณ์การทำงาน (ทั่วไป)
– ที่ปรึกษาโครงการ, องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) (2565 – 2566) – เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์, United Analyst and Engineering Consultant Co., Ltd. (UAE) (2564)
– ผู้ประสานงานโครงการนำร่องการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์กับการพัฒนาเชิงพื้นที่, ศูนย์การจัดการสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ (ICEM) (2562)
– ผู้ช่วยผู้ประสานงานโครงการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตัว, สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย สำนักบริหารจัดการลุ่มน้ำโขง กรมทรัพยากรน้ำ (2557 – 2558) – เจ้าหน้าที่ประจำโครงการ, สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (2553 – 2557)
ประสบการณ์การทำงานทางการเมือง
– ที่ปรึกษาโครงการ, องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) (2565 – 2566) – เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์, United Analyst and Engineering Consultant Co., Ltd. (UAE) (2564) – ผู้ประสานงานโครงการนำร่องการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์กับการพัฒนาเชิงพื้นที่, ศูนย์การจัดการสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ (ICEM) (2562) – ผู้ช่วยผู้ประสานงานโครงการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตัว, สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย สำนักบริหารจัดการลุ่มน้ำโขง กรมทรัพยากรน้ำ (2557 – 2558) – เจ้าหน้าที่ประจำโครงการ, สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (2553 – 2557)
ทำไมถึงอยากลงสมัครเป็นรองเลขาธิการพรรคประชาชน
มีความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะใช้ความรู้ความสามารถและทักษะที่มีช่วยขับเคลื่อนพรรคปฏิบัติภารกิจสู้ศึกเลือกตั้งท้องถิ่น และขยายเครือข่ายสร้างพรรคให้แข็งแรง เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายให้ได้สส. 270 ที่นั่ง ในปี 2570 จากการทำงานที่ผ่านมา ตั้งแต่เมื่อครั้งลงสมัครเป็นที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก ในนามคณะก้าวหน้าปี 2562 ช่วยผู้สมัครสส.เขตลงพื้นที่หาเสียงเลือกตั้งทั่วไปปี 2566 จนมาดำรงตำแหน่งสส.ที่ทำงานทั้งในสภาฯ และนอกสภาฯ ทำให้พบเห็นปัญหา ช่องโหว่ต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคในการขับเคลื่อน/ขยายเครือข่ายของพรรค ด้วยความที่เป็นคนที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี พูดคุยได้กับทุกฝ่าย รู้จักการประนีประนอม ผ่อนหนักผ่อนเบา รับฟังเหตุผลรอบด้าน และแก้ปัญหาโดยความเป็นเหตุเป็นผลได้ดี ไม่มีกลุ่มก้อน จึงง่ายต่อการประสานงานรอบทิศ อีกทั้งยังเคยเป็นหนึ่งในกรรมการสรรหาผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในนามพรรค จึงสามารถใช้ทักษะเหล่านี้ในการขับเคลื่อนพรรคได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังต้องการช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่เลขาธิการพรรค ในการบริหารจัดการเครือข่ายในพื้นที่ เนื่องจากตนเองมีภูมิลำเนาอยู่ อ.เมือง จ.ตาก เกิดและเติบโตที่นั่น อีกทั้งมีเครือญาติกระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ทั้งอุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก และกำแพงเพชร และลงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติค่อนข้างบ่อย (เช่น อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์) จึงเข้าใจปัจจัยต่างๆ อันส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ประชาชน ทั้งบริบททางเศรษฐกิจและสังคมของประชากร สภาพแวดล้อม รวมถึงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่างเป็นอย่างดี ทำให้สามารถวิเคราะห์รากเหง้าของปัญหา เพื่อทำให้ประชาชนเห็นว่าพรรคประชาชนสามารถกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น ทำให้พวกเขาอยู่ดีกินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอาชีพที่มั่นคงอย่างยั่งยืน
ถ้าได้เป็นรองเลขาธิการพรรคประชาชน แล้วอยากจะทำอะไร หรือผลักดันอะไร
แผนงาน: 100 วันแรก (2567)
– วางรากฐานให้แข็งแกร่ง
– ละลายพฤติกรรม สลายขั้ว ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งภายในจังหวัด สร้างความเข้าใจกับตัวแทนพรรคประจำอำเภอ (ตทอ.) ตัวแทนพรรคประจำจังหวัด (ตทจ.) ให้เป็นกลุ่มก้อน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น
– วางแผนการทำงานสร้างพรรค ภายใต้โครงสร้างที่มีธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้
– จัดทำคู่มือการทำงานของเครือข่ายภายในพรรค พร้อมทั้งเสนอร่างระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้กรรมการบริหารพิจารณา เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน จักได้นำไปใช้ต่อไป
– รณรงค์ทางความคิด เสริมสร้างศักยภาพให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมทางการเมือง
– สนับสนุนคณะทำงานจังหวัดในการขยายฐานสมาชิก เพื่อให้เกิดคณะกรรมการสาขาจังหวัด สำหรับจังหวัดที่เข้าเกณฑ์ตามกฎหมายพรรคการเมือง และตัวแทนพรรคประจำอำเภอ ตามระเบียบของคณะกรรมการบริหารพรรคก้าวไกล
– เปิดโอกาสให้สมาชิกพรรคมีส่วนร่วมในกิจกรรมของพรรค
– ประชุมร่วมกับเลขาธิการฯ และปรึกษาหารือถึงปัญหาอุปสรรคต่างๆ ร่วมกับรองเลขาธิการฯ พื้นที่อื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแก้ปัญหาร่วมกัน 1 ปีแรก (2568) – วางแผนเชิงยุทธศาสตร์และเชิงพื้นที่
– ขยายฐานสมาชิกต่อเนื่องจาก 100 วันแรก
– ศึกษาข้อมูลเดิม เพิ่มเติมข้อมูลใหม่ ดูบริบทในพื้นที่พร้อมข้อมูลประกอบ เช่น ผลคะแนนที่ผ่านมา เพื่อวางยุทธศาสตร์ในการเดิน — กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย 8 จังหวัด มีทั้งหมด 34 เขต (ในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2566) แต่สส.พรรคประชาชนได้ที่นั่งเพียง 5 เขต (คิดเป็นร้อยละ 15) ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก โดยทางพรรคอาจมองว่ากลุ่มเหนือล่างนี้เป็นพื้นที่ของบ้านใหญ่ ยากต่อการเข้าแย่งชิงพื้นที่ จึงอาจมองข้ามและไม่จัดว่าเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ของพรรค แต่หากพรรคตั้งเป้าให้ได้สส. 270 ที่นั่ง พื้นที่นี้นับเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพอีก 1 แห่งที่มิอาจละเลยได้
– เริ่มวางตัวผู้สมัครสส.แต่ละเขต (อาจต้องเตรียมตัวสำรองไว้ด้วย เผื่ออุบัติเหตุทางการเมือง) เพื่อจะได้มีเวลาแทรกซึมไปในพื้นที่ เข้าถึง เข้าใจประชาชน ช่วยเหลือเรื่องการประกอบอาชีพ ให้ประชาชนอยู่ดีกินดี เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การทำพื้นที่ในทุกรูปแบบ ทั้ง online และ on ground เพื่อสร้างกระแสนิยมให้พรรคและตัวผู้สมัครเอง
– สรุป ติดตาม ประเมินผลการทำงานในแต่ละปี เพื่อปรับปรุงการทำงานในปีถัดๆ ไป 2 ปีสุดท้าย (2569-2570)
– วางแนวทางให้บรรลุเป้าหมาย – เชื่อมโยงนโยบายพรรคเข้ากับนโยบายภูมิภาค/ท้องถิ่น เพื่อพัฒนาภูมิภาคไปในแนวทางเดียวกันกับพรรค
– เดินเกมส์เร็วในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้งปี 2570 ให้คนจดจำผู้สมัครสส.ให้ได้ – สร้างเครือข่ายอาสาสมัคร หัวคะแนนธรรมชาติในพื้นที่ เพื่อช่วยเป็นหูเป็นตา และจับตาขณะเลือกตั้ง
– รักษาทั้งองคาพยพให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ที่ได้วางไว้ เพื่อบรรลุเป้าหมายให้ได้สส.เกินกว่า 270 ที่นั่ง